หลักการใช้งานพื้นฐาน (Basic Using)

 

การเริ่มต้นเรียนรู้การใช้งานโปรแกรม คุณควรศึกษาหลักการใช้งานพื้นฐานต่าง ๆ เสียก่อน เพื่อให้ง่ายต่อการเรียนรู้ในบทต่อไป

 

tog_minusตารางข้อมูล (Data Table)

คุณลักษณะข้อมูลต่าง ๆ ในระบบ โดยมากจะอยู่ในรูปตารางข้อมูล การจัดการข้อมูล (การเพิ่ม แก้ไข ลบ) ในลักษณะนี้ทำได้ 3 แบบ ขึ้นอยู่กับรูปแบบของหน้าต่างที่แสดง

 
ตารางแบบที่ 1
 

BS1
Figure 1 ตัวอย่างตารางข้อมูลแบบที่ 1

ตารางข้อมูลแบบที่ 1 มีวิธีการใช้งานดังนี้
 

1.การเพิ่มรายการใหม่ ให้ คลิก ที่บรรทัดบนสุด (จะมีเครื่องหมาย + สีเขียว)

2.การแก้ไขหรือแสดงรายการที่เลือก ให้เลือกรายการ แล้ว ดับเบิลคลิก หรือ กดปุ่ม Enter

3.การกระทำเพิ่มเติมอื่น ๆ เกี่ยวกับรายการที่เลือก ให้ คลิกขวา บนรายการ จะปรากฏ Popup Menu

 
คุณสามารถเลือกหลายรายการพร้อมกัน (Multi Selection) โดยการกดปุ่ม Shift หรือ Ctrl ค้างไว้ในขณะที่เลือก

ตารางข้อมูลลักษณะนี้โดยมากจะใช้กับแฟ้มข้อมูลหลัก อาทิ สินค้า ลูกค้า ผู้จำหน่าย พนักงาน สาขา ฯลฯ

 

ตารางแบบที่ 2
 

BS2
Figure 2 ตัวอย่างตารางข้อมูลแบบที่ 2
 

ตารางข้อมูลแบบที่ 2 มีวิธีการใช้งานดังนี้

จะมีปุ่มคำสั่งสำหรับการกระทำใด ๆ กับช้อมูล อาทิ การเพิ่ม แก้ไข ลบ
ตารางข้อมูลลักษณะนี้โดยมากจะใช้กับแฟ้มข้อมูสนับสนุน อาทิ กลุ่มสินค้า กลุ่มผู้จำหน่าย ฯลฯ

 
ตารางแบบที่ 3
 
ตารางในแบบที่ 3 เป็นแบบที่ให้ป้อนข้อมูลลงไปในตารางโดยตรง
การเพิ่มรายการจะต้องเลื่อนตัวชี้ไปที่บรรทัดล่างสุด แล้วป้อนข้อมูลเข้าไปที่ตารางโดยตรง  ดังภาพ
 

BS3

การแก้ไขข้อมูลในรายการสามารถทำได้ทันที
 

BS4

การลบรายการจะต้องออกจากโหมดการแก้ไขในเซลล์ข้อมูลเสียก่อน โดยการกดปุ่ม Esc ให้เป็นแถบสี่เหลี่ยมดังภาพ
จึงจะทำการลบได้ โดย กดปุ่ม Delete
 

BS5

tog_minusตัวเลือกรายการแบบเลื่อนลง (Lookup Edit)

Lookup Edit คือคอนโทรลสำหรับอินพุตข้อมูล จะปรากฏอยู่ในกิจกรรมต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นในรูปแบบอินพุตฟอร์มหรือคอลัมน์ในตารางรายการ คอนโทรลตัวนี้จะช่วยให้เลือกข้อมูลจากรายการที่แสดงขึ้นมาให้เลือกได้อย่างสะดวกรวดเร็ว
 

BS6
Figure 3 ตัวอย่างLookup Editในอินพุตฟอร์ม

 

มีวิธีการใช้งานดังนี้
 

1.ป้อนคำค้นหาที่เกี่ยวข้องเพียงบางส่วน โปรแกรมจะกรองรายการขึ้นมาให้เลือก คำที่ใช้ในการค้นหา สามารถใช้ค้นหาได้จากทุกคอลัมน์ที่ปรากฏในตาราง

2.หากไม่พบรายการข้อมูลที่ต้องการค้นหา และพบว่าข้อมูลนั้น ยังไม่เคยบันทึกลงในระบบ คุณสามารถสร้างข้อมูลนั้นได้ทันที
จากภาพตัวอย่าง หากต้องการสร้างผู้จำหน่ายขึ้นมาใหม่ คุณไม่ต้องเสียเวลาย้อนกลับไปสร้างที่เมนูผู้จำหน่าย คุณสามารถ คลิก ที่เครื่องหมาย + ด้านล่าง โปรแกรมจะเข้าเปิดหน้าต่างการเพิ่มผู้จำหน่ายให้คุณโดยอัตโนมัติ

3.หากข้อมูลที่สร้างเพิ่มใหม่นั้นไม่ปรากฏในรายการให้เลือก ให้คุณ คลิก ที่ icon refresh อีกครั้ง ข้อมูลนั้นจะแสดงขึ้นมา

tog_minusปฏิทิน (DateRange Edit)

DateRange Edit คือคอนโทรลปฏิทินสำหรับอินพุตข้อมูลช่วงวันที่ (วันที่เริ่มต้น/สิ้นสุด) จะปรากฏในตัวเลือกเงื่อนไขสำหรับออกรายงานต่าง ๆ
 

BS7

มีวิธีการใช้ดังนี้

1.คลิกซ้าย ที่วันที่เริ่มต้น และ คลิกขวา ที่วันที่สิ้นสุด จะปรากฏแถบสีแสดงช่วงวันที่เลือก

2.หรือ คลิก ที่แถบช็อตคัททางด้านขวา เพื่อเลือกวันที่ให้เองอัตโนมัติ หากตรงกับเงื่อนไขที่จะเลือก

tog_minusการป้อนที่อยู่ (Address Entry)

การบันทึกที่อยู่ในระบบต่าง ๆ ทำได้โดยง่าย จากการดึงข้อมูลจากฐานรหัสไปรษณีย์ที่มีอยู่ก่อนแล้ว ทำให้การป้อนข้อมูลน้อยลง
 

BS8
 

BS9

 
มีวิธีการดังนี้

1.ให้ป้อนรหัสไปรษณีย์ก่อน โปรแกรมจะแสดงรายการ เขต/อำเภอ ตามรหัสไปรษณีย์ขึ้นมาให้เลือก

2.หลังจากเลือก เขต/อำเภอ จากรายการแล้ว โปรแกรมจะดึง เขต/อำเภอและจังหวัด มาใส่ให้อัตโนมัติ

3.จากนั้นคุณก็เพียงกรอกข้อมูลในส่วนที่เหลือ

 
การป้อนที่อยู่นั้น ในช่องแรกให้ป้อน เลขที่ ถนน ซอย ในช่องถัดมาให้ป้อน แขวง เขต หรือ ตำบล อำเภอ

tog_minusการป้อนส่วนลด (Discount Entry)

BS-A
 
พิมพ์ 10+5 กดปุ่ม Enter โปรแกรมจะแปลงเป็น 10.00% + 5.00%

BS-B

 

การป้อนส่วนลด มีวิธีการดังนี้
 
ส่วนลด 10.00% พิมพ์ 10 กดปุ่ม Enter
ส่วนลด 10.00% + 5.00% พิมพ์ 10 + 5 กดปุ่ม Enter
ส่วนลด 50.00 บาท พิมพ์ 50.  กดปุ่ม (ห้าสิบจุด)
ส่วนลด 120.00 บาท พิมพ์ 120 กดปุ่ม  Enter ไม่ต้องมีจุด เพราะเกิน 100 โปรแกรมจะถือเป็นลดเงินสด

tog_minusแถบค้นหา (Find Bar)

การค้นหารายการข้อมูล เช่น ข้อมูลรหัสสินค้า ลูกค้า พนักงาน ฯลฯ  จะใช้แถบค้นหาแบบเดียวกัน
คลิก ปุ่มค้นหา บนแถบเครื่องมือ เพื่อแสดง แถบค้นหา
 

BS-C

Figure 4 แสดงแถบค้นหาในหน้าต่างลูกค้า

 

 

BS-D

ค้นหาใน
เลือกคอลัมน์ที่ต้องการค้นหาจากคำค้นหา        

 

ค้นหา
ป้อนคำที่ต้องการค้นหา แล้วกดปุ่ม Enter หรือ คลิก ปุ่ม ค้นหาเดี๋ยวนี้

 

ค้นหาเดี๋ยวนี้
แสดงผลลัพธ์จากการค้นหา

 

ล้าง
ยกเลิกการค้นหา และฟื้นฟูรายการทั้งหมด

 

ตัวเลือก
กำหนดวิธีการค้นหา
 
BS-E

tog_minusสถานะการใช้งาน  (Item Active Status)

แฟ้มข้อมูลหลักต่าง ๆ ในระบบ อาทิ รหัสสินค้า ลูกค้า ผู้จำหน่าย พนักงาน ฯลฯ ที่มีการนำไปใช้ในระบบแล้ว คุณไม่สามารถลบรหัสนั้นออกจากระบบได้ เนื่องจากระบบยังคงต้องใช้ข้อมูลนั้น ในการอ้างอิง เช่น การออกรายงานการขายตามสินค้าจะต้องแสดงรายการสินค้าที่ขาย หากระบบยอมให้ลบรหัสสินค้านั้นได้ ก็จะทำให้ยอดขายผิดเพี้ยนไป

แต่หากรหัสสินค้านั้นเป็นสินค้าที่จะไม่ใช้งานอีกแล้ว  คือไม่มีการซื้อการขายอีกต่อไป เลิกผลิต และคุณต้องการซ่อนสินค้านี้
 

BS-F

ให้คุณเคลียร์เช็คที่หัวข้อ ใช้งาน ดังภาพ
BS-G

หากคุณต้องการแสดงรายการที่กำหนดสถานะเป็น ไม่ใช้งาน ให้คุณไปที่ เมนู มุมมอง > มุมมองปัจจุบัน
หรือไปที่ เมนู มุมมองปัจจุบัน บนแถบมุมมองของรายการข้อมูลนั้น ๆ โปรแกรมจะแสดงผลลัพธ์ตามมุมมองที่คุณเลือก
 

BS-H

จากตัวอย่างเกี่ยวกับเรื่องการกำหนดสถานะการใช้งานนี้ คุณสามารถนำไปใช้ได้กับทุกแฟ้มข้อมูลหลัก อาทิ สินค้า พนักงาน ลูกค้า ผู้จำหน่าย สาขา ฯลฯ

tog_minusโฟกัสไปยังคอนโทรลถัดไปโดยการดปุ่ม Enter (Focus next control on Enter)

ในการอินพุตข้อมูลต่าง ๆ คุณสามารถ กดปุ่ม Enter เพื่อย้ายโฟกัสไปยังคอนโทรลถัดไป ดังภาพ
 
BS-I

Figure 5 แสดงการย้ายคอนโทรล ด้วยการกดปุ่ม Enter